💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม หรือ กระบวนการเกิดนวัตกรรม
กระบวนการเกิดนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ ดังต่อไปนี้
1.การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค
สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2.การเลือกสรร(Selecting) เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น
เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
3.การนำไปปฏิบัติ(Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ
ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ
ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า
ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น
ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ๔ ประการ ดังนี้
3.1
การรับ (Acquring) คือ
ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา
(R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด
รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร
(Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2
การปฏิบัติ(Executing) คือ
ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ
ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving)
ตลอดเวลา
3.3
การนำเสนอ (Launching) คือ
การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด
โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4
การรักษาสภาพ(Sustaining) คือ
การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด
ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้
ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น
(Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.การเรียนรู้(Learning)เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง
และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊
การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3
ขั้นตอน คือ
•1.
มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
•2.
มีการตรวจสอบ หรือทดลอง
และปรับปรุงพัฒนา
•3.
มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การที่จะพิจารณาว่า
สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง3ขั้นตอน
ตามที่กล่าวมาแล้ว
อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นนวัตกรรม
เพราะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3
ขั้นตอน กล่าวคือ
•ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น
•ขั้นที่สองมีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้ว
•ขั้นที่สามมีการนำมาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน
•แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ3ขั้นตอน
กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมาขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว
แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริง
เพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์ จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม
💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦
เอกสารอ้างอิง
1. สมนึก
เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ.
นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสาร บริหารธุรกิจ.ปีที่
33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.
3. https://sites.google.com/site/sinali098765/2-krabwnkar-keid-nwatkrrm
💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀
เยี่ยมชม Presention ของกลุ่มเราได้ที่
http://prezi.com/b7zq_w3fbr9v/?utm_campaign=share&utm_medium=copy
💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
VTR PRESENTION
ขอขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ
💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀
เยี่ยมชม Presention ของกลุ่มเราได้ที่
http://prezi.com/b7zq_w3fbr9v/?utm_campaign=share&utm_medium=copy
💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
VTR PRESENTION
SCG DRAWING THE FUTURE
โฆษณา นวัตกรรมสี NIPPON
ขอขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------
Week 2 วันเสาร์ 20 พ.ค. 256 : Infographic คืออะไร
Week 2 วันเสาร์ 20 พ.ค. 256 : Infographic คืออะไร
Infographics มาจากคำว่า Information + graphics
อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) หมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ
ในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ฯลฯ
ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้
ผู้ชมเข้าใจความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่จำ เป็นต้องมีผู้นำ เสนอมาช่วยขยายความเข้าใจอีก
การออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เป็นการนำข้อมูลที่เข้าใจยากหรือข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือจำ นวน
มากมานำ เสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ให้สามารถเล่าเรื่องได้ด้วยตัวเอง มีองค์ประกอบที่
สำคัญ คือ หัวข้อที่น่าสนใจ ภาพและเสียง ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้เพียงพอ แล้วนำมาสรุป
วิเคราะห์ เรียบเรียง แสดงออกมาเป็นภาพจึงจะดึงดูดความสนใจได้ดี ช่วยลดเวลาในการอธิบายเพิ่มเติม
กราฟิกที่ใช้อาจเป็นภาพ ลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม ตาราง แผนที่ ฯลฯ จัดทำ
ให้มีความสวยงาม น่าสนใจ เข้าใจง่าย สามารถจดจำ ได้นาน ทำ ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. ด้านข้อมูล
ข้อมูลที่จะนำ เสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราวเปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง
2. ด้านการออกแบบ
การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำ งาน และความสวยงาม โดย
ออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง
การสร้างอินโฟกราฟิกส์ให้ดึงดูดความสนใจ (Designing An Amazing Infographics)
ข้อมูลสารสนเทศสามารถนำมาจัดทำ ให้สวยงามและมีประโยชน์ หากมีการนำ เสนอที่ดี ที่ผ่านมา
ข้อมูลสารสนเทศจำ นวนมากถูกนำมาจัดกลุ่มทำ ให้ไม่น่าสนใจ การจัดทำข้อมูลให้เป็นภาพกราฟิกจึงเป็นที่
นิยมในปัจจุบัน อินโฟกราฟิกส์เป็นการออกแบบให้เป็นภาพที่ช่วยอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
Hyperakt’s Josh Smith ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้ค้นพบกระบวนการที่ดีในการออกแบบ
อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) 10 ขั้นตอน
1. การรวบรวมข้อมูล (Gathering data)
คัดเลือกข้อมูลดิบที่รวบรวมมาแต่ที่ยังไม่เป็นระเบียบ โดยอาจใช้โปรแกรม Microsoft Excel
เขียนแหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ บันทึกภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
ไม่ควรแยกภาพหรือแผนภาพกับข้อมูลออกจากกัน
2. การอ่านข้อมูลทั้งหมด (Reading everything)
การอ่านข้อมูลเฉพาะจุดเน้นหรืออ่านอย่างผิวเผินให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วเพราะคิดว่าเสียเวลาจะทำให้ได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของประเด็นสำคัญผู้ออกแบบอินโฟกราฟิกส์ต้องมีทักษะในการจัดการข้อมูลและแน่ใจว่าข้อมูลที่สำคัญไม่ถูกละเลยที่จะมาสนับสนุนเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ
3. การค้นหาวิธีการเล่าเรื่อง (Finding the narrative)
การนำ เสนอข้อมูลที่น่าเบื่อจะทำ ให้อินโฟกราฟิกส์น่าเบื่อ เว้นแต่ว่าจะค้นพบการนำ เสนอเรื่องราว
ที่ดึงดูดความสนใจ อินโฟกราฟิกส์เริ่มที่จุดมุ่งหมายเดียว ขยายความข้อมูลที่ซับซ้อน อธิบายกระบวนการ
เน้นที่แนวโน้มหรือสนับสนุนข้อโต้แย้ง การหาวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจอาจจะยุ่งยากในระยะแรก ถ้าเรา
คุ้นเคยกับข้อมูลที่มีอยู่จะทำ ให้สามารถเล่าเรื่องราวได้ การใส่ใจกับเนื้อหาที่สำคัญที่จะช่วยให้การนำ เสนอ
ข้อมูลมีคุณค่า
อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) เรื่อง หลักการออกแบบ Infographics
2
4. การระบุปัญหาและความต้องการ (Identifying problems)
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนำมาตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีข้อมูลที่ไม่สนับสนุนหัวข้อหรือประเด็นที่
เราต้องการนำ เสนอ ควรมีการอภิปรายหาข้อสรุปที่แท้จริงเพื่อระบุปัญหาและความต้องการ ผู้ชมต้องการ
ข้อมูลที่มีการจัดการและมีการออกแบบที่ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลต้องถูกต้อง
และไม่ผิดพลาด ปรับปรุงข้อมูลและเรื่องราวให้มีเอกลักษณ์ตรงกับหัวข้อศึกษาทบทวนหลายๆ ครั้ง หาวิธี
การนำ เสนอข้อมูลอย่างถูกต้องและมีคุณค่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการออกแบบให้ชนะใจผู้ชม นักออกแบบที่
ดีต้องมีมุมมองและเห็นคุณค่าในรายละเอียดของข้อมูลที่ชัดเจน
5. การจัดลำ ดับโครงสร้างข้อมูล (Creating a hierarchy)
การจัดลำดับชั้นของข้อมูลเป็นที่นิยมในการสรุปข้อมูล เป็นการนำผู้ชมให้มองเห็นภาพรวมตั้งแต่
ต้นจนจบ เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลในการสร้างอินโฟกราฟิกและตรึงผู้ชมตามโครงสร้างลำดับชั้นของ
ข้อมูล การจัดรูปแบบข้อมูลตามลำดับจะส่งเสริมให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลเป็นช่วงระยะของการเล่าเรื่อง ซึ่ง
กลายเป็นวิธีการที่แพร่หลายในการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ 6. การออกแบบโครงสร้างข้อมูล (Building a wireframe)
เมื่อพิจารณาตรวจสอบคัดเลือกข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว จัดแบ่งข้อมูลเป็นลำดับชั้น และออกแบบ
โครงสร้างของของข้อมูล ผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจกับภาพหรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลสำคัญ
ที่จัดไว้เป็นลำดับชั้นแล้วนำ ไปให้ผู้ชมวิพากษ์วิจารณ์ การออกแบบที่ผ่านการโต้เถียงจากบุคคลในหลาย
มุมมองที่ให้ข้อเสนอแนะแตกต่างกันออกไป จะเป็นข้อสรุปของการจัดทำ โครงสร้างอินโฟกราฟิกส์
7. การเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Choosing a format)
เมื่อสิ้นสุดการกำ หนดภาพหรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแล้ว วิธีจัดกระทำข้อมูลที่ดีที่สุด
คือ การนำ เสนอข้อมูลด้วยแผนผัง กราฟต่างๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม หรืออาจจะใช้
ไดอะแกรม หรือผังงานเพื่ออธิบายกระบวนการทำ งาน อาจนำแผนที่มาประกอบในการเล่าเรื่อง หรือบางที
การใช้ตัวเลขนำ เสนอข้อมูลง่ายๆ อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด
8. การกำ หนดภาพให้ตรงกับหัวข้อ (Determining a visual approach)
การเลือกใช้ภาพในการทำ ให้อินโฟกราฟิกส์ให้ดูดีมีสองแนวคิด คือ ใช้ข้อมูลดิบมาจัดทำ เป็นกราฟ
หรือแผนผังให้น่าสนใจ ใช้สี การพิมพ์ และการจัดโครงสร้างในการออกแบบงานให้มีศิลปะ และใช้ลายเส้น
วาดภาพหรือคำอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แสดงข้อมูลตัวเลขออกมาอย่างชัดเจน จะเห็นเป็นภาพแสดงแทน
ข้อมูลคล้ายกับกราฟหรือแผนผังเท่านั้น
เราไม่ควรติดยึดกับวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ควรผสมผสานวิธีการใช้กราฟ แผนภาพ และแผนผัง
ตกแต่งองค์ประกอบด้วยการวาดลายเส้นหรือนำ ภาพที่เป็นตัวแทนของข้อมูลมาจัดวางซ้อนกัน อาจเสริม
ด้วยข้อมูล สื่อ ตราสัญลักษณ์ และเนื้อหาในการออกแบบให้ตรงกับหัวข้อ
9. การตรวจสอบข้อมูลและทดลองใช้ (Refinement and testing)
เมื่อออกแบบอินโฟกราฟิกส์เสร็จแล้วเริ่มตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ผู้ชมจะดูทั้งข้อมูลและ
ภาพที่เล่าเรื่องราว เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่เสร็จแล้วมีคุณภาพตรงกับหัวข้อและเป้าหมาย ประเมินทั้งการ
ออกแบบและจุดเน้นจนกระทั่งผลงานชัดเจนและเข้าใจง่าย ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างชมผลงานและให้ข้อคิด
เห็นว่าสามารถเข้าใจได้ง่ายหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเห็นข้อมูลมาก่อน ประเมินกลับไปกลับมาระหว่าง
ผู้ชมและกลุ่มตัวอย่างจนกระทั่งลงตัวได้ข้อยุติ จึงนำ เสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ
3
10. การแบ่งปันความรู้ในอินเทอร์เน็ต (Releasing it into the world)
อินโฟกราฟิกส์ส่วนใหญ่เผยแพร่แบ่งปันในอินเทอร์เน็ต มีแพร่หลายเป็นที่นิยม เป็นการทดสอบ
ผลงาน ข้อมูลที่มีลักษณะที่น่าสนใจจะถูกอ่านโดยบุคคลทั่วไป ข้อมูลที่ถูกตรวจสอบและพิจารณาจาก
ผู้เชี่ยวชาญแล้วไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นผู้ค้นพบวิธีการเล่าเรื่องราวนั้น ถึงแม้ว่าผลงานจะเคยถูกเผย
แพร่มาแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์จากอินเทอร์เน็ตจะช่วยขยายข้อโต้แย้งและค้นพบวิธีการนำ เสนอข้อมูลวิธี
ใหม่ได้ ข้อคิดเห็นต่างๆ จะได้รับการปรับปรุงแก้ไข ผลงานที่ถูกวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญมาสู่ตัวเราเหมือน
เป็นรางวัลในการทำ งาน การออกแบบที่ถูกกลั่นกรองอย่างเข้มข้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะสกดผู้ชม
อ้างอิงจาก
1. http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf
2.https://www.google.co.th/search?q=infographic+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi2jb2Dr_3TAhXMNo8KHYq3CFoQ_AUICigB&biw=1600&bih=794#imgrc=7-ab9_UIYtniwM:
3.http://oknation.nationtv.tv/blog/digitalmarketing/2013/01/01/entry-2
เรามาดูวิธีการสร้าง Infographic แบบง่ายๆกันนะครับ
😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁
(★^O^★)
ตอบลบ