วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Assignment 3 Google site and Google form

Week 3 : 27  May 2017

Google Site and Google Form

😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲😲

สำหรับสัปดาห์นี้เราจะมาแนะนำนะครับว่า Google site  และ Google form คืออะไร

Google Site คืออะไร

Google Site คือบริการที่ ต่อยอดมากจาก Google ที่ผู้ใช้สามารถสร้าง Page ของ Google ในแบบที่ตัวเองต้องการได้แต่ว่ามาคราวนี้ Google Site ได้ต่อยอดจากการที่ว่าสร้างไว้เพื่อดูเองกลายเป็น เครื่องมือในการสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดายนึกถึง โปรแกรม Microsoft FrontPage หรือไม่ก็ MacroMedia Dreamweaver ที่เป็นโปรแกรมบนเครื่องของเรา นั้นแหละครับ แต่ Google Site ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายกว่า ลูกเล่นเยอะกว่าเพราะสามารถ Add Google Gadgets ได้ และที่สำคัญทำงานบนWeb Service
การสร้างเว็บไซด์บน Google Site นอกจากที่เราจะได้เว็บไซด์แล้ว Google ยังให้พื้นที่ในการเก็บเว็บไซด์ไว้บน Google ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีวันล่ม คิดดูครับมีทั้ง เว็บไซด์และโฮสติ้งในคราวเดียวกัน
Google ให้พื้นที่ในการเก็บ เว็บไซด์สำหรับ Free Account ไว้ที่ 100 MB และสำหรับ ลูกค้า Google Apps แบบ Google Apps Premier Edition จะได้รับ
                10 GB of Google Sites storage, plus 500 MB for each Premier Edition user account
                Manage Google Sites sharing settings across your business
                Easily publish Google Sites within your company
          ก่อนเริ่มใช้งานคุณจะต้องมี Google Account หรือ Gmail นั้นเอง อันเดียวกัน
          แล้วเข้าไปที่ sites.Google.com จากนั้น Login
          แล้วกด ปุ่มสีน้ำเงิน Create Site
เรายังสามารถนำ Google Sites ไปเชื่อมกับระบบโดเมนให้เป็นเว็บไซด์ของจริงได้ด้วยโดย Google Sitesจะให้เราสามารถเปลี่ยน CNAME  โดยชี้มาที่ ghs.google.com ได้ ในส่วนของ Web address


       Google Site เป็นบริการหนึ่งของ Google ที่ให้พื้นที่กับผู้ใช้บริการในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ที่ต้องการ โดยให้ URL เป็น http://sites.google.com/site/...(ชื่อที่เราต้องการ) เช่น http://sites.google.com/site/demonmhon/ 


    ความพิเศษของ Google Site มีส่วนในการจัดเนื้อหาให้ ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการสร้างเว็บไซต์ ก็สามารถมีหน้าเว็บ ใส่เนื้อหาได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก เพราะการสร้างเว็บไซต์ตั้งแต่เริ่มต้นนั้นต้องรู้หลายเรื่องครับ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบหน้าเว็บ, HTML ฯลฯ

💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥💥

 เราจะใช้บริการได้อย่างไร 

  หากคุณมีบัญชีของ Google อยู่แล้ว (บัญชีเดียวกับ GMail) ก็สามารถสมัครเข้าใช้บริการได้ ที่ http://sites.google.com/ ไม่มีค่าใช้จ่าย

     หน้าแรก คุณจะพบกับ หน้าต้อนรับ ที่ให้คุณสร้าง "Site" ของคุณ หรือเว็บไซต์นั่นแหละครับ 
   
    หลังจากสร้างแล้ว ส่วนจัดการของ Google Site ที่จะช่วยคุณในการสร้าง หน้าใหม่ แก้ไขหน้า ตั้งค่าไซต์ เนื้อหาภายในหน้า เปลี่ยนโครงร่าง สีสันได้ง่ายครับ เชื่อว่าใช้งานสักพักก็จะคุ้นเคย (ไม่แน่ใจว่า ส่วนของเมนูเป็น ภาษาไทยมีหรือไม่ ที่ผมใช้งานเป็นภาษาอังกฤษครับ) เช่น สร้างหน้าใหม่ เลือกที่ Create new page เลือกรูปแบบของหน้า จากนั้นก็ลงมือใส่เนื้อหาได้เลย 


    การใส่เนื้อหาก็ไม่ต่างอะไรกับเครื่องมือ Office มากนักเช่น พิมพ์ข้อความลงไป ใส่สี ปรับขนาดตัวอักษร แทรกรูปครับ พวกเครื่องไม่เครื่องมือในหน้าก็มีความชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วครับ

บริการ Google sites คือบริการฟรีเว็บไซต์ ซึ่งคุณสามารถ


               
 - สร้างเว็บไซต์ได้ง่าย โดยไม่ต้องมีความรู้ HTML
                 - ใส่รูปภาพ ข้อความ
                 - สร้างไฟล์แนบให้ Download ได้
                 - กำหนดได้ว่าจะให้ใครเข้ามาดูได้บ้าง
                 - ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ลองมาดูผลงานการสร้างsiteของผมกันนะครับเข้าไปชมกันได้ที่ https://sites.google.com/vu.ac.th/wangbinbin/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81





อ้างอิงจาก : 

1. https://sites.google.com/site/karthangandoychithekhnoloyi/khwam-hmay-khxng-google
2. http://www.banrainarao.com/googlesites/art_googlesites
3. http://web.sut.ac.th/g/index.php/documentation/google-sites


💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦

Google Form คืออะไร

Google Form เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Docs ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบอาทิ เช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียน และการลงคะแนนเสียง เป็นต้น
ทั้งนี้การใช้งานกูเกิ้ลฟอร์มนั้น ผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มจะต้องมีบัญชีของ Gmail หรือ Account ของ Google เสียก่อน ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานสร้างแบบฟอร์มผ่าน Web Browser ได้เลยโดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ทั้งสิ้น

มารู้จักฟอร์มที่ใช้เก็บข้อมูลใน Google Form กันเถอะ

ในการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ ไม่ว่าเราจะใช้งาน Google Form ในงานเก็บข้อมูลรูปแบบไหน เก็บข้อมูลประเภทใด  Google Form สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้สร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้



ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากูเกิ้ลฟอร์มมีฟอร์มสำหรับเก็บข้อมรูปหลากหลายรูปแบบสำหรับสร้างแบบสอบถามออนไลน์ โดยสามารถสร้างฟอร์มรับข้อมูลได้อยู่ 9 รูปแบบ โดยแบ่งออกเป็นรูปแบบพื้นฐาน 5 รูปแบบ และรูปแบบขั้นสูง 4 รูปแบบ อีกทั้งยังสามารถแทรกในส่วนของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกรูปภาพวีดีโอ หรือข้อความส่วนหัว  

การออกแบบข้อสอบ

          
        ใครที่เคยใช้ Google Forms หลายท่านคงเคยใช้ในการทำแบบสอบถามหรือใช้ในการลงทะเบียน และ Google Forms สามารถสร้างข้อสอบออนไลน์ได้ผ่านทาง add on ชื่อ flubaroo มาแล้ว แต่บทความนี้คุณสามารถสร้าง Quiz ทำข้อสอบออนไลน์ พร้อมสามารถตรวจคำตอบพร้อมเฉลย โดยไม่ต้องใช้ Add On เลย ด้วย ซึ่งเป็นฟีเจอร์ล่าสุดของ Google Forms เอง



เริ่มจากเข้า forms.google.com แล้ว Sign in เข้าสู่ระบบ จากนั้นก็เริ่มสร้างฟอร์มใหม่เลย แล้วทำฟอร์มให้ได้ลักษณะเป็นคำถาม และมีตัวเลือกคำตอบเป็นช้อยส์ ดังรูป



สามารถกำหนดเลือกประกาศคะแนน และเลือกผู้ตอบสามารถดูคำตอบ ได้ตามต้องการ เมื่อเรียบร้อยแล้วคลิก บันทึก


จากฟอร์มที่เราสร้างนี้ ให้เลือกกลุ่มคำถาม แล้วคลิกที่เฉลยคำตอบ



จากนั้น ใส่คะแนนที่ได้ หากตอบถูก และเลือกคำตอบเฉลยที่ถูกต้อง ทำแบบนี้จนครบทุกกลุ่มคำถาม
google-forms-quiz-06
เมื่อทำเสร็จแล้ว ลองพรีวิวตัวอย่าง Quiz ข้อสอบย่อย กันหน่อย โดยคลิกที่รูปดวงตา
google-forms-quiz-07
และนี่คือหน้าตาข้อสอบย่อยที่เราสร้างขึ้น ลองทำกันดู
google-forms-quiz-08
เมื่อทำข้อสอบ คลิกส่งกันแล้ว ดูคะแนนกัน โดยคลิกที่ดูคะแนนของคุณ
google-forms-quiz-09
ก็จะแสดงคำตอบเฉลยอย่างที่เห็นนี้ พร้อมคะแนนที่ได้บริเวณมุมขวาบนของฟอร์ม ทั้งนี้หากตอบผิดจะขึ้นเป็นสีแดง พร้อมคำตอบเฉลยที่ถูกต้อง
คราวนี้ครูอาจารย์ หรือคนทำงานที่ต้องการสร้าง Quiz ข้อสอบย่อย นี้ สามารถทำได้แล้วบน Google Froms
💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑💑

ลองมาดูผลงานการออกข้อสอบออนไลน์ ของผมกันนะครับ โดยใช้ Google Form





อ้างอิงจาก :
1. https://officemanner.com/2014/11/21/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-google-form-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD/
2. https://www.it24hrs.com/2016/google-forms-quiz/
3. https://sites.google.com/a/suratham.ac.th/stpgti60/kar-chi-khlang-khxsxb-dlit/google-form-srang-khxsxb-xxnlin
🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋🙋





วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Assignment 2 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม

Assignment 2 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม By Society

💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟

ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม หรือ กระบวนการเกิดนวัตกรรม

   กระบวนการเกิดนวัตกรรม จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๆ หลายประการ ดังต่อไปนี้


1.การค้นหา(Searching) เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาสและอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
2.การเลือกสรร(Selecting) เป็นการตัดสินใจเลือกสัญณาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กร
3.การนำไปปฏิบัติ(Implementing) เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่สัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นหากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยการดำเนินงานขั้นตอนที่สำคัญอีก ๔ ประการ ดังนี้
3.1 การรับ (Acquring)  คือ ขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางวิจัยและพัฒนา (R&D) , การทำวิจัยทางการตลาด รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น
3.2 การปฏิบัติ(Executing)  คือ ขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวสู่การปฏิบัติงานภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving) ตลอดเวลา
3.3 การนำเสนอ (Launching) คือ การนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด
3.4 การรักษาสภาพ(Sustaining) คือ การรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งอาจจะต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาปรับปรุงแก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น
4.การเรียนรู้(Learning)เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษาและเรียนรู้ในชั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊

การเกิดนวัตกรรมมีกระบวนการที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
2. มีการตรวจสอบ หรือทดลอง และปรับปรุงพัฒนา
3. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การที่จะพิจารณาว่า  สิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ ต้องมีคุณลักษณะผ่านกระบวนการครบทั้ง3ขั้นตอน ตามที่กล่าวมาแล้ว อาทิเช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI) เป็นนวัตกรรม เพราะผ่านกระบวนการครบทั้ง 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
ขั้นที่หนึ่งมีการประดิษฐ์คิดค้น
ขั้นที่สองมีการทดลองใช้และพัฒนามาแล้ว
ขั้นที่สามมีการนำมาใช้กันแล้วในการจัดการเรียนการสอน
แต่การโคลนนิ่งมนุษย์ยังไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมเพราะยังผ่านกระบวนการไม่ครบ3ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นที่หนึ่งมีการคิดค้นวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมาขั้นที่สองผ่านการทดลองปรับปรุงพัฒนาแล้ว แต่ยังไม่ผ่านขั้นที่สามคือยังไม่มีการนำวิธีการโคลนนิ่งมนุษย์มาใช้ในสถานการณ์จริง เพราะกฎหมายยังไม่ยอมให้มีการโคลนนิ่งมนุษย์   จึงยังไม่เป็นนวัตกรรม
💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦💦
เอกสารอ้างอิง
1. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์และคณะ. นวัตกรรม : ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ วารสาร บริหารธุรกิจ.ปีที่ 33 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2533.
3. https://sites.google.com/site/sinali098765/2-krabwnkar-keid-nwatkrrm

💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀💀

เยี่ยมชม Presention ของกลุ่มเราได้ที่ 
http://prezi.com/b7zq_w3fbr9v/?utm_campaign=share&utm_medium=copy

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛

VTR PRESENTION 



SCG DRAWING THE FUTURE




โฆษณา นวัตกรรมสี NIPPON

ขอขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------

Week 2  วันเสาร์ 20 พ.ค. 256 : Infographic คืออะไร

      Infographics มาจากคำว่า Information + graphics อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) หมายถึง การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ ในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจเป็นลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม แผนที่ ฯลฯ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้ ผู้ชมเข้าใจความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่จำ เป็นต้องมีผู้นำ เสนอมาช่วยขยายความเข้าใจอีก 



     การออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เป็นการนำข้อมูลที่เข้าใจยากหรือข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือจำ นวน มากมานำ เสนอในรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ให้สามารถเล่าเรื่องได้ด้วยตัวเอง มีองค์ประกอบที่ สำคัญ คือ หัวข้อที่น่าสนใจ ภาพและเสียง ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้เพียงพอ แล้วนำมาสรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง แสดงออกมาเป็นภาพจึงจะดึงดูดความสนใจได้ดี ช่วยลดเวลาในการอธิบายเพิ่มเติม กราฟิกที่ใช้อาจเป็นภาพ ลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ แผนภูมิ ไดอะแกรม ตาราง แผนที่ ฯลฯ จัดทำ ให้มีความสวยงาม น่าสนใจ เข้าใจง่าย สามารถจดจำ ได้นาน ทำ ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 

1. ด้านข้อมูล ข้อมูลที่จะนำ เสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราวเปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง 
2. ด้านการออกแบบ การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำ งาน และความสวยงาม โดย ออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง

     การสร้างอินโฟกราฟิกส์ให้ดึงดูดความสนใจ (Designing An Amazing Infographics) ข้อมูลสารสนเทศสามารถนำมาจัดทำ ให้สวยงามและมีประโยชน์ หากมีการนำ เสนอที่ดี ที่ผ่านมา ข้อมูลสารสนเทศจำ นวนมากถูกนำมาจัดกลุ่มทำ ให้ไม่น่าสนใจ การจัดทำข้อมูลให้เป็นภาพกราฟิกจึงเป็นที่ นิยมในปัจจุบัน อินโฟกราฟิกส์เป็นการออกแบบให้เป็นภาพที่ช่วยอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย Hyperakt’s Josh Smith ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ได้ค้นพบกระบวนการที่ดีในการออกแบบ อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) 10 ขั้นตอน 

     1. การรวบรวมข้อมูล (Gathering data) คัดเลือกข้อมูลดิบที่รวบรวมมาแต่ที่ยังไม่เป็นระเบียบ โดยอาจใช้โปรแกรม Microsoft Excel เขียนแหล่งอ้างอิงที่มาของข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ บันทึกภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่ควรแยกภาพหรือแผนภาพกับข้อมูลออกจากกัน 
     2. การอ่านข้อมูลทั้งหมด (Reading everything) การอ่านข้อมูลเฉพาะจุดเน้นหรืออ่านอย่างผิวเผินให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วเพราะคิดว่าเสียเวลาจะทำให้ได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของประเด็นสำคัญผู้ออกแบบอินโฟกราฟิกส์ต้องมีทักษะในการจัดการข้อมูลและแน่ใจว่าข้อมูลที่สำคัญไม่ถูกละเลยที่จะมาสนับสนุนเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ 
     3. การค้นหาวิธีการเล่าเรื่อง (Finding the narrative) การนำ เสนอข้อมูลที่น่าเบื่อจะทำ ให้อินโฟกราฟิกส์น่าเบื่อ เว้นแต่ว่าจะค้นพบการนำ เสนอเรื่องราว ที่ดึงดูดความสนใจ อินโฟกราฟิกส์เริ่มที่จุดมุ่งหมายเดียว ขยายความข้อมูลที่ซับซ้อน อธิบายกระบวนการ เน้นที่แนวโน้มหรือสนับสนุนข้อโต้แย้ง การหาวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจอาจจะยุ่งยากในระยะแรก ถ้าเรา คุ้นเคยกับข้อมูลที่มีอยู่จะทำ ให้สามารถเล่าเรื่องราวได้ การใส่ใจกับเนื้อหาที่สำคัญที่จะช่วยให้การนำ เสนอ ข้อมูลมีคุณค่า อินโฟกราฟิกส์ (Infographics) เรื่อง หลักการออกแบบ Infographics 2 
     4. การระบุปัญหาและความต้องการ (Identifying problems) เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนำมาตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีข้อมูลที่ไม่สนับสนุนหัวข้อหรือประเด็นที่ เราต้องการนำ เสนอ ควรมีการอภิปรายหาข้อสรุปที่แท้จริงเพื่อระบุปัญหาและความต้องการ ผู้ชมต้องการ ข้อมูลที่มีการจัดการและมีการออกแบบที่ดี มิฉะนั้นจะกลายเป็นหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลต้องถูกต้อง และไม่ผิดพลาด ปรับปรุงข้อมูลและเรื่องราวให้มีเอกลักษณ์ตรงกับหัวข้อศึกษาทบทวนหลายๆ ครั้ง หาวิธี การนำ เสนอข้อมูลอย่างถูกต้องและมีคุณค่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการออกแบบให้ชนะใจผู้ชม นักออกแบบที่ ดีต้องมีมุมมองและเห็นคุณค่าในรายละเอียดของข้อมูลที่ชัดเจน 
     5. การจัดลำ ดับโครงสร้างข้อมูล (Creating a hierarchy) การจัดลำดับชั้นของข้อมูลเป็นที่นิยมในการสรุปข้อมูล เป็นการนำผู้ชมให้มองเห็นภาพรวมตั้งแต่ ต้นจนจบ เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูลในการสร้างอินโฟกราฟิกและตรึงผู้ชมตามโครงสร้างลำดับชั้นของ ข้อมูล การจัดรูปแบบข้อมูลตามลำดับจะส่งเสริมให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลเป็นช่วงระยะของการเล่าเรื่อง ซึ่ง กลายเป็นวิธีการที่แพร่หลายในการออกแบบอินโฟกราฟิกส์      6. การออกแบบโครงสร้างข้อมูล (Building a wireframe) เมื่อพิจารณาตรวจสอบคัดเลือกข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว จัดแบ่งข้อมูลเป็นลำดับชั้น และออกแบบ โครงสร้างของของข้อมูล ผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจกับภาพหรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลสำคัญ ที่จัดไว้เป็นลำดับชั้นแล้วนำ ไปให้ผู้ชมวิพากษ์วิจารณ์ การออกแบบที่ผ่านการโต้เถียงจากบุคคลในหลาย มุมมองที่ให้ข้อเสนอแนะแตกต่างกันออกไป จะเป็นข้อสรุปของการจัดทำ โครงสร้างอินโฟกราฟิกส์ 
    7. การเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Choosing a format) เมื่อสิ้นสุดการกำ หนดภาพหรือกราฟิกที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแล้ว วิธีจัดกระทำข้อมูลที่ดีที่สุด คือ การนำ เสนอข้อมูลด้วยแผนผัง กราฟต่างๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม หรืออาจจะใช้ ไดอะแกรม หรือผังงานเพื่ออธิบายกระบวนการทำ งาน อาจนำแผนที่มาประกอบในการเล่าเรื่อง หรือบางที การใช้ตัวเลขนำ เสนอข้อมูลง่ายๆ อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด 
     8. การกำ หนดภาพให้ตรงกับหัวข้อ (Determining a visual approach) การเลือกใช้ภาพในการทำ ให้อินโฟกราฟิกส์ให้ดูดีมีสองแนวคิด คือ ใช้ข้อมูลดิบมาจัดทำ เป็นกราฟ หรือแผนผังให้น่าสนใจ ใช้สี การพิมพ์ และการจัดโครงสร้างในการออกแบบงานให้มีศิลปะ และใช้ลายเส้น วาดภาพหรือคำอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แสดงข้อมูลตัวเลขออกมาอย่างชัดเจน จะเห็นเป็นภาพแสดงแทน ข้อมูลคล้ายกับกราฟหรือแผนผังเท่านั้น เราไม่ควรติดยึดกับวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ควรผสมผสานวิธีการใช้กราฟ แผนภาพ และแผนผัง ตกแต่งองค์ประกอบด้วยการวาดลายเส้นหรือนำ ภาพที่เป็นตัวแทนของข้อมูลมาจัดวางซ้อนกัน อาจเสริม ด้วยข้อมูล สื่อ ตราสัญลักษณ์ และเนื้อหาในการออกแบบให้ตรงกับหัวข้อ 
    9. การตรวจสอบข้อมูลและทดลองใช้ (Refinement and testing) เมื่อออกแบบอินโฟกราฟิกส์เสร็จแล้วเริ่มตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด ผู้ชมจะดูทั้งข้อมูลและ ภาพที่เล่าเรื่องราว เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่เสร็จแล้วมีคุณภาพตรงกับหัวข้อและเป้าหมาย ประเมินทั้งการ ออกแบบและจุดเน้นจนกระทั่งผลงานชัดเจนและเข้าใจง่าย ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างชมผลงานและให้ข้อคิด เห็นว่าสามารถเข้าใจได้ง่ายหรือไม่ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเห็นข้อมูลมาก่อน ประเมินกลับไปกลับมาระหว่าง ผู้ชมและกลุ่มตัวอย่างจนกระทั่งลงตัวได้ข้อยุติ จึงนำ เสนอเผยแพร่สู่สาธารณะ 3 
     10. การแบ่งปันความรู้ในอินเทอร์เน็ต (Releasing it into the world) อินโฟกราฟิกส์ส่วนใหญ่เผยแพร่แบ่งปันในอินเทอร์เน็ต มีแพร่หลายเป็นที่นิยม เป็นการทดสอบ ผลงาน ข้อมูลที่มีลักษณะที่น่าสนใจจะถูกอ่านโดยบุคคลทั่วไป ข้อมูลที่ถูกตรวจสอบและพิจารณาจาก ผู้เชี่ยวชาญแล้วไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นผู้ค้นพบวิธีการเล่าเรื่องราวนั้น ถึงแม้ว่าผลงานจะเคยถูกเผย แพร่มาแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์จากอินเทอร์เน็ตจะช่วยขยายข้อโต้แย้งและค้นพบวิธีการนำ เสนอข้อมูลวิธี ใหม่ได้ ข้อคิดเห็นต่างๆ จะได้รับการปรับปรุงแก้ไข ผลงานที่ถูกวิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญมาสู่ตัวเราเหมือน เป็นรางวัลในการทำ งาน การออกแบบที่ถูกกลั่นกรองอย่างเข้มข้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะสกดผู้ชม

อ้างอิงจาก

1. http://www.krujongrak.com/infographics/infographics_information.pdf

2.https://www.google.co.th/search?q=infographic+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi2jb2Dr_3TAhXMNo8KHYq3CFoQ_AUICigB&biw=1600&bih=794#imgrc=7-ab9_UIYtniwM:

3.http://oknation.nationtv.tv/blog/digitalmarketing/2013/01/01/entry-2


เรามาดูวิธีการสร้าง Infographic แบบง่ายๆกันนะครับ 


😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Assignment 9 สรุปกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละสัปดาห์

Week 1 : วันที่ 13 พฤษภาคม 2560
------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้เรียนรู้ว่าประโยชน์ของ Google นอกจากจะเป็น Search Engin ในการหาข้อมูลที่เราได้ใช้กันในทุกๆวันแล้ว ยังมี features ต่างๆอีกมากมายที่ทำให้เราได้เข้าไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น google translate , google classroom , google web store , blogger ต่างๆ

2. ได้เรียนรู้การสร้าง blog เป็นของตนเอง ในการที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ

3. ได้เรียนรู้การสร้าง mind map จาก Application ใน Google web store

4. ได้เรียนรู้ประโยชน์จากการใช้สื่อเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะนำมาใช้ช่วยในสื่อการเรียนการสอนต่างๆ และนำไปประยุกต์ใช้

ทักษะ

1.  สามารถสร้าง ตกแต่ง แก้ไข เพิ่มเติม แทรก  link ของเว็บไซต์ต่างๆ เข้าไปใน Blog ของเราเอง

2.  สามารถสร้าง mind map จาก Application ใน Google web store รวมไปถึงการออกแบบจาก Microsoft Word , Microsoft power point

3. สามารถเพิ่มรายชื่อเพื่อนเข้าไปใน blog ของตนเอง การจัดวางตำแหน่งของหน้า blog ได้

4. สามารถใช้ประโยชน์จากการ live สด ใน Face book ว่ามีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารมากน้อยเพียง

ใด สามารถโต้ตอบกับเพื่อนๆ หรือคนที่มองเห็นได้อย่าง Real time


ผลการเรียนรู้


     จากการได้เรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาในสัปดาห์ที่ 1 นี้ ทำให้ทราบถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆที่เราต้องการ การใช้โปรแกรมต่างๆในการสร้าง blog ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ได้ รวมไปถึง การอ่าน E-book จาก Google web store ที่ทำให้เราเข้าถึงหนังสือได้อย่างไม่ต้องรอ ไม่ต้องไปเข้าร้านหนังสือในการหาซื้อ อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากการ live สด ใน Face book ว่ามีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารอย่างมาก รวมไปถึงได้เรียนรู้ 
Application ที่ช่วยให้เราได้เข้าถึงข้อมูลในการเรียนรู้ต่างๆอีกมากมาย 

     ซึ่งการเรียนในวันนี้จะทำให้เราได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่ไม่รู้จบ ทำให้การศึกษาไทยได้ก้าวไกลไปถึงไทยแลนด์ 4.0 ในเร็ววันนี้ ซึ่งเรามีคลิปการ live สด มานำเสนอให้เพื่อนๆได้ชมกันนะครับ แล้วเจอกันใหม่ สัปดาห์หน้านะครับ





👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇

Week 2 : วันที่ 20 พฤษภาคม 2560

------------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะของกิจกรรม

1. การทำกิจกรรม infographic โดยใช้นวัตกรรมเมื่อไม่มีเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เป็นการทำ infographic โดยใช้มือ

2. รายงานการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับเรื่อง ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม

3. ออกข้อสอบ จากที่เพื่อนๆรายงานตามหัวข้อต่างๆ เพื่อนำม่ทำเป็นข้อสอบออนไลน์ ใน สัปดาห์ ถัดไป

4. เลือกบทความวิชาการใน face book โดย เลือกโพล Connectivism ที่เกี่ยวกับโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ เพื่อทำบทความวิชาการตลอดทั้งการเรียนวิชานี้

5. เลือกแอพลิเคชั่นของเพื่อนๆในกลุ่ม ออกมาทำ เป็น infographic ที่ทำให้ข้าใจง่ายขึ้น

ทักษะ

1. สามารถทำกิจกรรม infographic โดยใช้นวัตกรรมเมื่อไม่มีเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เป็นการทำ infographic โดยใช้มือได้ โดยใช้แค่กระดาษ และสีต่างๆ เพื่อทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกข้อสอบต่างๆได้

3. ได้ทราบและเข้าใจถึงบทความวิชาการต่างๆ ที่จะต้องทำว่ามีขอบเขตเนื้อหาอะไรบ้าง

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 2 นี้ ทำให้ทราบเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและนวัตกรรมทางการศึกษาว่าคืออะไร มีความหมายและตัวอย่างอย่างไร อีกทั้งได้เข้าใจถึงคำว่า infographic ที่เราเ็นกันบ่อยๆว่ามีที่มาอย่างไร  และเราจะทำมันออกมาอย่างไร  รวมไปถึงได้ทราบถึงบทความทางวิชาการว่า โซเชียลมีเดียที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ เราเอามาทำเป็นบทความวิชาการ หรือวิจัยเชิงลึกได้เลยทีเดียว
 
     สุดท้าย ข้าพเจ้ายังสามารถนำความรู้ที่ได้มาออกข้อสอบ โดยนำมาบูรณาการกับวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกาษาได้อีกด้วย


และนี่คือผลงานนวัตกรรม Infographic ทำมือของกลุ่มพวกเราครับ   จบปิ๊ง!






🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊🙊

Week 3 : วันที่ 27 พฤษภาคม 2560

Google site and Google form
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. การออกแบบ site ที่เป็นเว็บไซต์ขนาดย่อมๆของตนเอง โดยมีความต่างกับ Blog ก็คือ เข้าไปแสดงความคิดเห็นไม่ได้

2. การออกแบบข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ Google form ซึ่งประโยชน์ของมัน ยังมีอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม หรือ การเลือกรายการต่างๆ

3. การเพิ่มบุ๊กมาร์กแอพพลิเคชั่น ลงไปในหน้า Chrome ของเรา

4. เทคนิคการตกแต่งและออกแบบการทำ Site โดยใช้เมนูการตกแต่งต่างๆ


ทักษะ

1. สามารถทำออกแบบ site เป็นของตนเองได้ ตามจินตนาการ

2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการออกข้อสอบออนไลน์ โดยใช้ Google form

3. สามารถใช้บุ๊คมาร์ก แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิชาของตนได้

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 3 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การทำเว็บไซต์เป็นของตนเอง การเพิ่มเมนูต่างๆมากมายที่ทำให้การออกแบบออกมาสวยงามยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกข้อสอบออนไลน์ ที่สามารถทำให้รู้คะแนนและสถิติได้ในทันที อีกทั้งยังสามารถสร้าง Google group ได้ เพื่อสะดวกในการวมกลุ่มและส่งงานกลุ่ม

      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง








😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝😝

Week 4 : วันที่ 4 มิถุนายน 2560

Infographic and E-Book
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้เรียนรู้กิจกรรมการทำ infographic โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สะดวกสบาย ของเว็บไซต์ www.canva.com

2. ได้เข้าใจถึงลักษณะของสีต่างๆที่ควรนำมาใช้ในการทำและออกแบบ infographic

3. ได้เรียนรู้และออกแบบ E-book โดยใช้ power point

ทักษะ

1. สามารถทำออกแบบ infographic กับเว็บไซต์ canva ได้

2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำ infographic

3. สามารถใช้และออกแบบ E-book โดยใช้ power point

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 4 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การทำออกแบบ E-book โดยใช้ power point และ infographic เป็นของตนเอง การออกแบบและการเรียนรู้การผสมสีและการแสดงชองสี ทำให้เราทราบว่าสามารถดึงจุดสนใจได้จากคนที่มาอ่านของเรา รวมทั้งเรายังสามารถนำการออกแบบไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบสื่อแบบอื่นๆในอนาคตได้อีกด้วย

      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง





🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌🙌


Week 5 : วันที่ 10 มิถุนายน 2560

ศตวรรษที่ 21 และ ประเทศไทย 4.0
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำมาปรับใช้กับประเทศไทย 4.0

2. ได้เข้าใจถึงลักษณะของความคิดรวบยอดในการนำเสนอในแบบฉบับประเทศไทย 4.0 โดยผ่าน เนื้อหาของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

3. ได้เรียนรู้และออกแบบการทำ mind map แบบประยุกต์ใช้ข้อมูลซึ่งกัน เพื่อนำเสนอข้อมูลความคิดรวบยอดและนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียน

ทักษะ

1. สามารถทำออกแบบmind map แบบประยุกต์ใช้ข้อมูลซึ่งกันได้

2. ได้ทราบและรู้ถึงความรู้และความหมายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาต่างๆ และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำ mind map

3. สามารถเขียนเสนอขอโครงการต่างๆได้

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 5 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การทำความคิดรวบยอดในการนำเสนอในแบบฉบับประเทศไทย 4.0 โดยผ่าน เนื้อหาของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา อีกทั้งยังสามารถเข้าใจและเขียนเสนอโครงการต่างๆของโรงเรียนได้


      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง








Week 6 : วันที่ 17 มิถุนายน 2560

หลักในการประเมินสื่อและนวัตกรรม by ผศ.ดร. ชวลิต เกตุกระทุ่ม

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้ทราบความหมายของการใช้หลักในการประเมินสื่อและนวัตกรรม

2. ได้ทราบถึงการประเมินสื่อทั้งที่เป็นแบบทดสอบและแบบสังเกตุ

3. ได้ทราบถึงการประเมินแบบ 360 องศาคืออะไร

ทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้

2. สามารถใช้รูปแบบวิธีการวิจัยนำมาใช้ในอนาคตได้

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 6 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การใช้หลักในการประเมินสื่อและนวัตกรรม ได้ทราบถึงการประเมินแบบ 360 องศาว่าคืออะไร ซึ่งทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปวิเคราะห์และวิจารณ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถช่วยทำให้เราเลือกงานวิจัยที่ม่คุณภาพมาใช้ได้

      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง





👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅


Week 7 : วันที่ 24 มิถุนายน 2560

อภิปรายเกี่ยวกับการการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในอนาคต

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้ทราบถึงนวัตกรรมการเรียนรู้ในอนาคต Top 10 Strategic Technology Trends for 2017

2. ได้ทราบถึงการทำออกแบบการประเมินสื่อ 20 หัวข้อ ที่ใช้สำหรับประเมินสื่อในครั้งต่อไป

3. ได้ทราบถึง Application ที่เราใช้ในปัจจุบันว่าเราใช้แบบไหนในการสอนนักเรียนบ้าง

4. เรียนรู้คำศัำท์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นการรวบรวมคำศัพท์
ทักษะ

1. สามารถอภิปรายวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับTop 10 Strategic Technology Trends for 2017

2. สามารถวิจารณ์ Application ที่เราใช้กันในปัจจุบันในการเรียนการสอนได้ว่ามีข้อดี - ข้อเสียอย่างไร

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 7 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในอนาคต ที่ทำให้เราได้ทราบว่าจะมีนวัตกรรมใหม่ๆอะไรในอนาคตบ้างที่จะทำให้การเรียนรู้ การศึกษามีความก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง อีกทั้งยังได้อภิปรายการใช้ Application ร่วมกัน


      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง









👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯👯

Week 8 : วันที่ 1 กรกฎาคม 2560

PRESENTATION นวัตกรรมการเรียนการสอน ของนักศึกษา ป.บัณฑิต กลุ่ม 3

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะของกิจกรรม

1. ได้ทราบถึงนการใช้นวัตกรรมต่างๆในการทำสื่อที่มีความแปลกใหม่ของเพื่อนๆ เช่น การใช้ google site , E-book , การประยุกต์ใช้ Application

2. ได้ทราบถึงแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อนวัตกรรม จำนวน 20 หัวข้อ เพื่อทำการประเมินเพื่อนๆ และแสดงความคิดเห็น

3. ได้ทราบว่า เราควรจะนำสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมอะไรในอนาคตมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน






ทักษะ

1. สามารถอภิปรายวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมไปถึงนำเสนอ สื่อและนวัตกรรมที่เพื่อนๆได้นำเสนอ เพื่อสามารถนำไปแลกเปลี่ยนความคิด และนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

2. สามารถวิจารณ์ และสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันของเพื่อนๆในการใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน

ผลการเรียนรู้

       จากการเรียนในสัปดาห์ที่ 8 นี้ เราได้ประโยชน์จากการเรียนรู้การใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ในอนาคต การสร้างสื่อที่ได้ความแปลกใหม่และสามารถมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ได้ความคิดแปลกใหม่ และการใช้ Application ที่เราไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งเราสามารถนำลองมาประยุกต์ใช้กันได้



      และนี่คือผลงานของเราในวันนี้ครับ   จบปิ๊ง











Assignment 8 PRESENTATION GOOGLE SITE INNOVATION และแบบสอบถามความพึงพอใจ

Week 8 : 1 กรกฎาคม 2560 หัวข้อ PRESENTATION นวัตกรรมในการใช้สื่อฯ Google Site 👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅👅      ...